บทความอูมามิ อื่นๆ ที่่น่าสนใจ
เรื่องราวกินดีมีสุข
บทความอูมามิ อื่นๆ ที่่น่าสนใจ
สูตรอาหาร
เรื่องราวกินดีมีสุข
บทความอูมามิ อื่นๆ ที่่น่าสนใจ
พลังงาน
(กิโลแคลอรี่)
90
โปรตีน
(กรัม)
14
คาร์โบไฮเดรต
(กิโลแคลอรี่)
5
ไขมัน
(กรัม)
2
โซเดียม
(มิลลิกรัม)
607
ปลากดกรอบ หรือปลาแห้งชนิดอื่น (ไม่เอาหัว)
100 กรัม
หอมแดง
50 กรัม
พริกแห้ง
10 กรัม
ข่า
20 กรัม
ใบมะกรูด
20 กรัม
มะเขือเทศ
50 กรัม
ตะไคร้
30 กรัม
ผักชีฝรั่ง
30 กรัม
เห็ดนางฟ้า
100 กรัม
น้ำมัน
5 กรัม
น้ำสะอาด
500 กรัม
น้ำมะนาว ตามชอบ
รสดีซุปก้อน รสต้มยำ 1 ก้อน
12 กรัม
สำหรับขั้นตอนแรกของการทำเมนูต้มโคล้งปลากรอบ นั่นก็คือการจัดเตรียมวัตถุดิบทุกชนิดที่จะใส่ในเมนูให้พร้อม โดยที่สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมประกอบไปด้วย ปลากดคังแห้งหรือปลาแห้งชนิดอื่น ๆ ตามความต้องการ
ให้นำหัวปลาออกด้วย เตรียมเครื่องสำหรับทำต้มยำจำพวก ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หอมแดง เห็ดนางฟ้า พริกแห้ง มะเขือเทศ ใบโหระพา ใบกะเพรา ผักชีฝรั่ง ส่วนด้านเครื่องปรุงรสชาติ เมนูต้มโคล้งจะไม่ได้เน้นการปรุงมากมายแต่เน้นรสชาติที่จัดจ้าน ใส่เพียงรสดีซุปก้อน รสต้มยำ และน้ำมะนาว
เคล็ดลับ : ปลากรอบที่เตรียมไว้ หากเป็นปลากรอบที่มาพร้อมหัวให้แกะหัวออกแยกจากตัว หรือใครชอบทานหัวปลาสามารถใส่ลงไปด้วยได้ แนะนำให้นำปลากรอบไปย่างซ้ำด้วยเตาถ่านจะยิ่งเพิ่มความกรอบและกลิ่นหอมของปลามากยิ่งขึ้น
นำเครื่องสมุนไพรต่าง ๆ ทั้งข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริกแห้ง หอมแดง ลงไปผัดในหม้อด้วยไฟอ่อนมาก ๆ เติมน้ำมันลงไปเล็กน้อย ผัดจนกว่าเครื่องสมุนไพรจะสุกดี มีกลิ่นหอมฟุ้ง การเหยาะน้ำมันพืชเล็กน้อยจะช่วยให้เครื่องสมุนไพรสุกไวขึ้น
กรณีที่ใช้ปลากดหรือปลาที่มีหัวสามารถนำหัวปลาไปตำหยาบ ๆ และใส่ลงไปผัดพร้อมเครื่องสมุนไพรได้ในขั้นตอนนี้ หรือจะแยกส่วนหัวไปต้มเป็นน้ำซุปปลาแห้งก็ได้เช่นกัน เพื่อให้ได้ต้มโคล้งปลาแห้งที่หอมมากเป็นพิเศษ จากนั้นเติมน้ำเปล่าสะอาดลงไปในหม้อจนท่วมเครื่องสมุนไพรในหม้อ
เคล็ดลับ : หากต้องการให้ต้มโคล้งปลากรอบมีกลิ่นหอมมากขึ้นแนะนำให้นำหอมแดงไปเผา เผาพร้อมเปลือก ให้เปลือกมีความไหม้เกรียม หากเช็กแล้วเนื้อหอมแดงนิ่มถือว่าใช้ได้ แกะเปลือกสีดำออกทั้งหมดและนำไปผัดร่วมกับเครื่องสมุนไพรอื่น ๆ
หลังจากที่ทิ้งน้ำไว้จนเดือดปุดแล้วให้ทำการปรุงรสชาติด้วยรสดีซุปก้อน รสต้มยำ เคี่ยวจนกว่ารสดีจะละลายจนหมด จะได้น้ำซุปต้มยำที่เข้มข้น ตามด้วยใส่เห็ดนางฟ้าฉีกเป็นเส้น ๆ ใบมะกรูดฉีก ใบโหระพา สามารถใส่เครื่องทุกอย่างที่ต้องการลงไปได้ทันที ยกเว้นปลาแห้งที่เก็บไว้ใส่ในขั้นตอนหลัง ต้มน้ำทิ้งไว้อีกครั้งจนกว่าจะเดือดโดยทั่วถึงกัน
เคล็ดลับ : หากชอบรสชาติเปรี้ยวของมะขามเปียกสามารถเติมได้ในขั้นตอนนี้ จะได้น้ำซุปที่มีความเปรี้ยว หวาน หอมลงตัวมากขึ้น
ในช่วงระหว่างรอน้ำซุปต้มโคล้งปลากรอบเดือด ให้เตรียมนำปลากรอบมาขูดผิวที่มีความไหม้เกรียมจากการย่างทิ้ง ฉีกหรือหั่นเนื้อปลาแห้งให้เป็นชิ้นพอดีคำ ประมาณ 2-3 เซนติเมตร ในส่วนของกระดูกแข็งสามารถทิ้งได้ หั่นเตรียมใส่ชามพักไว้ เนื้อปลาแห้งควรใส่เป็นขั้นตอนสุดท้ายเท่านั้นเพื่อให้เนื้อปลายังคงกรอบจนถึงเวลารับประทาน
เคล็ดลับ : พริกแห้งที่ผ่านการคั่วพร้อมเครื่องสมุนไพรจะไม่ได้ส่งรสชาติเผ็ดมากนัก เพียงแต่จะได้รสชาติจากรสดีซุปก้อน รสต้มยำ ดังนั้นหากชื่นชอบความเผ็ดจัดจ้านให้นำพริกแห้งไปเจียวและตำหรือปั่นให้ละเอียด ใส่ลงไปในถ้วยเพื่อเพิ่มรสชาติให้จัดจ้าน
เมนูต้มโคล้งเป็นเมนูอาหารพื้นบ้านไทยที่มีมาอย่างยาวนาน วิธีทำต้มโคล้งถือว่าไม่ได้หลายขั้นตอนมากนัก ไม่ว่าจะเป็นต้มโคล้งปลาแห้ง หรือต้มโคล้งปลากรอบ เพียงแต่มีส่วนประกอบของเครื่องสมุนไพรหลากหลายชนิด แต่สมุนไพรต่าง ๆ สามารถหาซื้อได้ง่ายและช่วยให้ต้มโคล้งปลากรอบมีความกลมกล่อมและมีกลิ่นหอมมากเป็นพิเศษ สามารถนำไปทานคู่กับข้าวสวยร้อน ๆ หรือจะทานเป็นกับแกล้มรับรองว่าได้ความแซ่บซี้ด สดชื่นแน่นอน
ดูสูตรเมนูอูมามิอื่นๆ ที่น่าสนใจและสามารถทำตามได้ง่ายๆ
ดูสูตรเมนูอูมามิอื่นๆ ที่น่าสนใจและสามารถทำตามได้ง่ายๆ
ทำแบบสอบถามเพื่อพัฒนา/ปรับปรุงผลิตภัณฑ์
© 2023 Ajinomoto Co., Inc.
เราให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวของคุณ เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กับผู้ใช้ ท่านตกลงใช้คุกกี้เพื่อใช้งานเว็บไซต์นี้ต่อไป ดูรายละเอียด นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ ข้อตกลงสำหรับการใช้งานเว็บไซต์นี้
ท่านสามารถเลือกตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด / ปิดคุกกี้แต่ละประเภทได้ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น (Strictly Necessary Cookies) ดังนี้ ข้อมูลเพิ่มเติม
คุกกี้ที่จำเป็น (Strictly Necessary Cookies)
Always Active
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ (Analytic Cookies)
คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน (Functional Cookies)
คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)