เรามุ่งมั่นที่จะเป็นกลุ่มบริษัทผู้ส่งมอบแนวทางการแก้ปัญหาและนวัตกรรม ที่เกี่ยวกับ อาหาร และสุขภาพมุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากร และการทำงานเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อร่วมส่งเสริมความยั่งยืนของโลก

เมนูที่ได้รับความนิยม

บทความอูมามิ อื่นๆ ที่่น่าสนใจ

ajinimoto
hamberger
สูตรอาหาร

สูตรอาหาร

เมนูที่ได้รับความนิยม

icon2

เรื่องราวกินดีมีสุข

บทความอูมามิ อื่นๆ ที่่น่าสนใจ

ติดตามเราได้ที่

facebookicon2icon2

อากาศร้อนของบูดง่าย แก้ได้ด้วยทริกถนอมอาหาร

แชร์ไปยัง

อากาศร้อนของบูดง่าย แก้ได้ด้วยทริกถนอมอาหาร

ถ้าเพื่อน ๆ เคยต้องทิ้งเนื้อสัตว์ หรือผัก ผลไม้ที่เน่า เพียงเพราะกินไม่ทันต้องรีบมาดูทางนี้เลย ซึ่งนอกจากส่งผลกระทบต่อเงินในกระเป๋าแล้ว ยังเป็นสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

 

ขยะอาหาร (Food Waste) เมื่อถูกนำไปฝังกลบในดินจะผลิต ‘ก๊าซมีเทน’ ทำให้โลกร้อนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่าเลยทีเดียว และอายิโนะโมะโต๊ะเองก็ได้มุ่งจัดการขยะอาหาร ในกระบวนการผลิตและการดำเนินการของบริษัทฯ ด้วย ตั้งแต่คัดเลือกวัตถุดิบไปจนถึงการจำหน่าย ซึ่งสามารถลดขยะอาหารลงได้กว่า 1,300 ตัน หรือคิดเป็น 70% มากกว่าเป้าที่ตั้งไว้ว่าจะลดลง 50% ในปี 2030


ดังนั้นในบทความนี้จึงอยากชวนเพื่อน ๆ มาช่วยหาวิธีที่ทำให้อาหารอยู่ได้นานทั้งการเก็บ และนำไปแปรรูปกัน เพื่อกินได้หมดไม่เหลือทิ้ง งั้นเรามาดูกันว่าจะสามารถช่วยโลกลดขยะอาหารด้วยวิธีไหนได้บ้าง

 

การเก็บถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ควรจะนำเนื้อสัตว์ไปแช่ในช่องฟรีซ ที่มีอุณหภูมิระหว่าง -18 °C ถึง -22 °C ถึงจะปังสุด และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขยะอาหาร จากเนื้อสัตว์ที่เน่าเสียมากที่สุด เราควรทำความสะอาด จัดเก็บเนื้อสัตว์ให้เรียบร้อยก่อนที่จะเข้าช่องฟรีซ ทำตาม 3 ขั้นตอนนี้ได้เลย

 

1. ล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วซับให้แห้ง 

2. นำใส่ถุงซิปล็อก และกดให้แบน ไล่หรือรีดลมออก

3. ใส่กล่องที่มีฝาปิดแล้วนำเข้าช่องฟรีซ

ส่วนประเภทเนื้อสัตว์ที่มีการสับหรือบดแล้ว ให้ตักแบ่งใส่ถุงซิปล็อกแล้วกดให้แบน เพื่อให้ความเย็นกระจายได้ทั่วถึง จากนั้นทำต่อเหมือนวิธีด้านบนเลย

 

การถนอมอาหารด้วยวิธีการแปรรูปสามารถทำได้หลายวิธี เช่น

• การหมักดอง จะช่วยทำให้ค่า pH ของอาหารลดลง ซึ่งจะเป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์กระจายตัว จนทำให้เกิดโรคท้องเสียได้ จะนำผลไม้ไปดอง แช่อิ่ม กวน ให้มีรสเปรี้ยวนิด หวานหน่อย ไว้กินเพิ่มความสดชื่นคลายร้อน หรือนำผักไปดองไว้ทานแกล้มกับน้ำพริกก็เป็นไอเดียที่จึ้งอยู่

 

• การนำไปทำให้แห้ง เป็นการลดความชื้นออกจากอาหารให้ต่ำกว่าจุดที่จุลินทรีย์เจริญเติบโตได้ ด้วยการกำจัดน้ำส่วนใหญ่ที่อยู่ในอาหารออกไป เช่น
- การนำผลไม้ไปตากให้แห้ง เอาไว้กินเล่นเป็นของว่าง
- เนื้อสัตว์ก็นำไปปรุงรส ด้วยผงชูรสนิดหน่อย แล้วลดเครื่องปรุงอื่น ๆ และทำเป็นเนื้อตากแห้งแดดเดียว สามารถตากไว้ได้ทั้งแสงธรรมชาติ หรือใช้วิธีการอบจากเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านก็ได้หมดเลย

 

เราสามารถคงความสดและรสชาติของผลไม้ได้นานเป็นเดือน ๆ เลย โดยการใช้ความเย็นถนอมผลไม้ เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ และชะลอการเน่าเสียนั่นเอง
แต่ก่อนที่จะผลไม้ไม้แช่เย็น ทุกคนต้องรู้ก่อนว่าผลไม้ชนิดไหน เหมาะกับความเย็นแบบไหนบ้าง

• ผลไม้ที่ควรเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 15 ° C
ได้แก่ แตงโม ฝรั่ง มังคุด ลองกอง น้อยหน่า กระท้อน ก่อนนำเข้าตู้เย็นควรเก็บแยกประเภทของผลไม้แต่ละชนิดให้เรียบร้อยก่อน และเก็บไว้ในกล่องพลาสติกที่มีฝาปิดล็อกสนิทแล้วนำเข้าไปแช่ในตู้เย็น

• ผลไม้อีกกลุ่มหนึ่งที่ควรเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำสุดที่ 2 ° C
ได้แก่ ลำไย ลิ้นจี่ เป็นต้น ก่อนเก็บควรแกะเอาเปลือก และเมล็ดออกก่อน แล้วนำเนื้อผลไม้ที่แกะไปเก็บใส่ในกล่องถนอมอาหาร ปิดฝาล็อกให้สนิทแล้วนำเข้าไปแช่ในตู้เย็นได้เลยค่ะ


การจัดการขยะอาหารอาจเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่ตัวเรา เช่น การเก็บอาหารให้ทานได้นานขึ้น จะได้ไม่บูดแล้วต้องทิ้ง ไปจนถึงการนำขยะอาหารนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ วิธีเหล่านี้ถือเป็นวิธีที่จะช่วยลดปริมาณขยะเศษอาหารลงได้ และยังสามารถช่วยโลกของเราได้อีกด้วย มาร่วมมือช่วยกันทำเพื่อโลกของเราเยอะ ๆ นะ


นอกจากนี้ทางอายิโนะโมะโต๊ะเองก็ได้ตระหนักถึงขยะอาหารด้วยเหมือนกัน จึงได้จัดตั้งโครงการ “Too Good To Waste” เพื่อช่วยสร้างความตระหนักรู้และเสนอวิธีแก้ปัญหา  ให้ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความยั่งยืนให้กับโลก เราจึงเริ่มต้นออกมาให้ความรู้ ความเข้าใจ และแรงบันดาลใจผ่านโครงการนี้ จะได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว จนสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่ส่งผลต่อสภาวะเรือนกระจกให้ลดลงได้อย่างยั่งยืน

 

icon2My Kitchen
พร้อมกิจกรรมพิเศษมากมาย

Lorem Ipsum has been the industry's standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown printer took a galley of type and scrambled it


เมนูที่ได้รับความนิยม


บทความอูมามิ อื่นๆ ที่่น่าสนใจ