บทความอูมามิ อื่นๆ ที่่น่าสนใจ
เรื่องราวกินดีมีสุข
บทความอูมามิ อื่นๆ ที่่น่าสนใจ
เราต่างก็รู้กันดีว่ากินเค็มมากไปไม่ดี เราจึงมักจะเลี่ยงการเติมเกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรส ฯลฯ ที่จะเป็นการเพิ่มปริมาณโซเดียมเกินพอดีลงไปในอาหารจานต่างๆ
แต่รู้หรือไม่ว่า ต่อให้ไม่เติมเครื่องปรุงเลย เราก็มีสิทธิได้รับโซเดียมสูงเกินไปจากพฤติกรรมการกินอาหารนอกบ้านหรือกินอาหารสำเร็จรูปเป็นประจำ เพราะมากกว่า 70% ของโซเดียมมาจากอาหารสำเร็จรูปและอาหารที่เราทานกันตามร้านอาหารนอกบ้านนี่เอง
ทั้งนี้ ปริมาณโซเดียมที่แนะนำให้บริโภคต่อวันโดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย คือ ไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัม หรือประมาณเกลือป่น 1 ช้อนชา หรือ 6 มิลลิกรัมเท่านั้น
หากร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไปจะเป็นอย่างไร ? ปริมาณโซเดียมที่สูงเกินไปจะส่งผลให้เกิดการกักเก็บน้ำไว้มากเกินไป ทำให้อวัยวะต่างๆ ต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อกำจัดน้ำ เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง และอาจตามมาด้วยแพ็กเกจโรคเรื้อรังต่างๆ ทั้งไต โรคหัวใจและหลอดเลือด
ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการจำกัดปริมาณโซเดียมให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดีต่อวัน คือ การอ่านฉลากโภชนาการให้ละเอียด หากซื้ออาหารปรุงสำเร็จควรเลือกที่มีปริมาณโซเดียมน้อยกว่า 600 มิลลิกรัมต่อมื้อ
และจะดีที่สุดหากหาโอกาสทำอาหารรับประทานเองที่บ้าน เพราะเราสามารถควบคุมปริมาณโซเดียมได้ด้วยตัวเอง โดยขั้นตอนการทำเมนูโซเดียมต่ำกินเอง มีวิธีเตรียมตัวดังต่อไปนี้
การเตรียมอาหารเพื่อสุขภาพ โซเดียมต่ำ
- เลือกซื้อซอสและเครื่องปรุงรสที่มีโซเดียมน้อย และแม้จะไม่ใช่เครื่องปรุงที่มีรสชาติเค็ม เช่น น้ำสลัด ซอสมะเขือเทศ มัสตาร์ด ซอสถั่วเหลือง ของดองต่างๆ ฯลฯ ก็อาจมีโซเดียมสูงได้
- เติมรสชาติให้อาหารด้วยเครื่องเทศและสมุนไพร เช่น กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ น้ำมะนาว และเครื่องปรุงที่ไม่มีเกลือ แทนการใช้เกลือ
- เลือกวิธีการทำอาหารที่ดึงรสชาติตามธรรมชาติของวัตถุดิบออกมาให้ได้มากที่สุด เช่น ย่าง ปิ้ง ตุ๋น เพื่อลดการเติมเกลือ
- เพิ่มวัตถุดิบที่มีโพแทสเซียม เช่น มันเทศ มันฝรั่ง มะเขือเทศ ส้ม กล้วย ฯลฯ เพราะมีคุณสมบัติช่วยลดปฏิกิริยาของร่างกายจากการได้รับโซเดียม
- เลือกปรุงรสโดยใช้เกลือลดโซเดียมและเครื่องปรุงสูตรลดโซเดียม หรือเลือกเติมผงชูรสเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ได้รสชาติกลมกล่อมโดยไม่ต้องใส่เกลือเพิ่ม
10 เมนูโซเดียมต่ำเพื่อสุขภาพ
ทางลัดง่ายๆ ในการมองหาเมนูโซเดียมต่ำเพื่อสุขภาพเอาไว้ทำกินเองที่บ้าน ถูกรวบรวมไว้ใน ‘เมนูอูมามิ’ ที่อายิโนะโมะโต๊ะแจกสูตรเด็ดเคล็ดลับในการทำเมนู Lowsodium แบบละเอียดทุกขั้นตอน พร้อมข้อมูลโภชนาการยืนยันว่าทั้ง 10 เมนูดังต่อไปนี้ มีปริมาณโซเดียมอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะแก่การบริโภคในแต่ละวันอย่างแน่นอน
เมนูที่ใช้อายิโนะโมะโต๊ะเป็นส่วนประกอบ : ต้มยำไก่น้ำใส, แกงส้มผักรวมปลา, ผัดผักรวมมิตร, ไข่ลูกเขย , น้ำพริกปลาทู
เมนูที่ใช้ ทาคูมิ อายิ โชยุญี่ปุ่น เป็นส่วนประกอบ : ปลาผัดคื่นช่าย, ไข่ดาวทรงเครื่อง, ข้าวผัดกระเทียมหน้าหมูสันนอกเทอริยากิ, ข้าวไข่ข้นทรงเครื่อง
เมนูที่ใช้ รสดีรสหมู สูตรลดโซเดียม เป็นส่วนประกอบ : เกี๊ยวทรงเครื่อง