เรามุ่งมั่นที่จะเป็นกลุ่มบริษัทผู้ส่งมอบแนวทางการแก้ปัญหาและนวัตกรรม ที่เกี่ยวกับ อาหาร และสุขภาพมุ่งเน้นการบริหารจัดการทรัพยากร และการทำงานเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อร่วมส่งเสริมความยั่งยืนของโลก

เมนูที่ได้รับความนิยม

บทความอูมามิ อื่นๆ ที่่น่าสนใจ

ajinimoto
hamberger
สูตรอาหาร

สูตรอาหาร

เมนูที่ได้รับความนิยม

icon2

เรื่องราวกินดีมีสุข

บทความอูมามิ อื่นๆ ที่่น่าสนใจ

ติดตามเราได้ที่

facebookicon2icon2

รู้หรือไม่ กรดอะมิโนสามารถนำมาใช้ในการเสริมรสชาติ ‘อาหารจากพืช’ (plant-based) ให้อร่อย น่ากินขึ้น

แชร์ไปยัง

icon2

ปัจจุบัน อาหารจากพืช (plant-based) เป็นอาหารทางเลือกที่กำลังได้รับความสนใจ จะเห็นได้ว่าตามท้องตลาดมีผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชวางจำหน่ายเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่ทำมาจากผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว ฯลฯ โดยเลียนแบบเนื้อสัมผัสและรสชาติให้คล้ายเนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ รวมถึงเครื่องดื่มจากพืช เช่น นมทางเลือกเพื่อสุขภาพ เป็นต้น

เหตุผลที่อาหารจากพืชเป็นตัวเลือกที่หลายคนเลือกบริโภค เพราะนอกจากจะเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการงด เลี่ยง และลดการทานเนื้อสัตว์ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ซึ่งดีต่อสุขภาพแล้ว ยังเป็นอีกวิธีที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนไปในตัว เพราะเนื้อสัตว์เป็นผลผลิตจากภาคปศุสัตว์ ซึ่งเป็นตัวการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมหาศาลสู่ชั้นบรรยากาศโลก 

ที่จริงแล้ว อาหารจากพืช (plant-based) ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่แฝงอยู่ในวัฒนธรรมการกินดั้งเดิมของหลายชนชาติทั่วโลกมานานหลายชั่วอายุคน อาทิ ที่ญี่ปุ่นมีอาหารมังสวิรัติที่เรียกว่า โชจินเรียวริ (shojinryori) เดิมเป็นอาหารสำหรับพระหรือผู้ที่ไปปฏิบัติธรรมที่วัดนิกายเซ็น โดยนอกจากจะหลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์แล้ว เมนูโชจินเรียวริยังเน้นการใช้ทุกส่วนของพืชผักให้คุ้มค่าและมีเศษอาหารเหลือทิ้งน้อยที่สุด โดยส่วนไหนของพืชผักที่กินไม่ได้ เช่น แง่ง ก้าน หรือเปลือก จะถูกนำมาเคี่ยวเพื่อทำซุปและสตู

สำหรับแหล่งโปรตีนในมื้ออาหารโชจินเรียวรินั้น มาจากเต้าหู้ ยูบะ (ฟองเต้าหู้) และนัตโตะ (ถั่วหมัก) โดยชาวญี่ปุ่นใช้วิธีเพิ่มรสชาติให้เมนูโชจินเรียวริอร่อยกลมกล่อมขึ้นด้วยซุปสาหร่ายคมบุและเห็ดชิตาเกะ เมนูโชจินเรียวริจึงไม่ได้แค่ถูกสุขอนามัยและถูกต้องตามศีลธรรมเท่านั้น แต่ยังมีรสชาติอร่อยอีกด้วย

 

และน้ำซุปสาหร่ายคมบุนี่เองที่กลายมาเป็นกุญแจไขความลับในรสชาติที่ห้า หรืออูมามิ ที่ ศ.ดร. คิคุนาเนะ อิเคดะ แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวเป็นผู้ค้นพบ และพัฒนาไปสู่นวัตกรรมการผลิตกลูตาเมตในรูปของเครื่องปรุงรสอูมามิ ที่รู้จักกันดีในชื่อโมโนโซเดียมกลูตาเมท หรือผงชูรส และวางจำหน่ายใน พ.ศ. 2452 โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า “อายิโนะโมะโต๊ะ” แล้วส่งมอบความอร่อยของรสชาติที่ห้าให้คนทั่วโลกได้รู้จัก

icon2My Kitchen
พร้อมกิจกรรมพิเศษมากมาย

Lorem Ipsum has been the industry's standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown printer took a galley of type and scrambled it


เมนูที่ได้รับความนิยม


บทความอูมามิ อื่นๆ ที่่น่าสนใจ